วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
รู้จักบล็อกกันก่อน
รู้จักบล็อกกันก่อน
บล็อก ( blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
สังคมบล็อก
สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ความเป็นมาของบล็อกในความเป็นจริงแล้วบล็อกมีมาในช่วงยุคต้นๆของการมีเว็บไซต์เลยทีเดียว(ช่วงประมาณปี ค.ศ.1992) โดยบล็อกมีต้นตระกูลมาจากเว็บประเภทหนึ่งที่เรียกว่า What’s New ซึ่งในยุคแรกขณะนั้นยังมีเว็บไซต์จำนวนไม่มากนัก เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป (CERN) ได้เป็นผู้เริ่มสร้างเว็บสำหรับนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการเว็บ รวมถึงแจ้งข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ โดยทำในลักษณะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ และมีคำอธิบายว่ามันคืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็มีผู้ทำ What’s New ในลักษณะต่างๆ มากมาย จนถึงปี ค.ศ.1997 นายจอร์น บาร์เกอร์ (Jorn Barger) เจ้าของเว็บไซต์ http://www.robotwisdom.com/ ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเป็น บล็อก อาจกล่าวได้ว่าเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ ก็ได้คิดคำว่า weblog ขึ้นมา
ต่อมาในปี ค.ศ.1999 ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ (Peter Merholz) เจ้าของ http://www.peterme.com/ ประกาศว่า ต่อไปเขาจะอ่านคำว่า weblog ว่า “วี - บล็อก” และจะเรียกสั้น ๆ ว่า blog “บล็อก” เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ยังมีคนใช้บล็อกจำนวนไม่มากนัก และความคิดนี้ ถือเป็นความคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจ นับตั้งแต่นั้นมา คำว่า บล็อก จึงกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมไปทั่ว และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่า weblog นั้นดูจะเป็นภาษาทางการมากกว่าคำว่า blog แต่ก็ยังมีผู้เรียกขาน weblog อยู่เช่นกัน
ใน ปี ค.ศ.1999 เริ่มมีบริการช่วยสร้างบล็อกฟรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ http://www.blogger.com/ (เวทีที่ท่านกำลังอ่าน) และ http://www.pitas.com/ ทั้งสองเว็บไซต์เปิดให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งจะให้เครื่องมือในการlogger.comสร้างบล็อก โดยจะใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หากใครที่มีพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์อยู่แล้ว ก็สามารถสร้างบล็อกแล้วนำบล็อกไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ของตนเองได้เลย หรือถ้าไม่มีพื้นที่เก็บเว็บไซต์ ก็สามารถฝากบล็อกไว้กับผู้ให้บริการได้อีกด้วย เมื่อมีเครื่องมือลักษณะนี้มาให้บริการ ทำให้การสร้างบล็อกเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ผู้สร้างบล็อกเพียงแค่ใส่ข้อมูลอย่างเดียวและไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างเว็บก็ได้ เลยทำให้วงการบล็อกเป็นที่สนใจ และทำให้มีบล็อกใหม่ ๆ เนื้อหาที่หลากหลายเกิดขึ้นมากมาย
โดยปกติการสร้างบล็อก สามารถสร้างได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการสร้าง Blog ฟรี ซึ่งจะมีเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานเขียนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีที่นิยมหลายแห่ง อาทิ http://www.blogger.com/ , http://www.wordpress.com/, เป็นต้น
สำหรับบ้านเราหก็นิยมสร้างบล็อกเป็นเครื่องมือช่วยในการประกอบธุรกิจ การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ออนไลน์ การใช้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร อาทิ http://bloggang.com/ http://www.oknation.net/blog/index.php และ http://gotoknow.org/ ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวัน เดือน ปี (archive) หรือค้นหาจาก คำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ,วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อคเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ
ป้ายกำกับ:
รู้จักบล็อก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น